วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหา Power Supply จ่ายไฟไม่เพียงพอ

 Power Supply จ่ายไฟไม่เพียงพอ

อาการ


เปิดติดแต่ไม่บู๊ต


หมายถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บู๊ต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ


อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน


อุปกรณ์บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้ก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลาย


คอมดับพอเปิดสักพักก็ดับ พอเปิดอีกก็ดับไม่ได้ต้องถอดปลั๊กออก...แล้วเสียบใหม่ก็เปิดได้..แต่ก็ดับ
ตามหลักการ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ระบบระบายความร้อน ยังไม่ทำงานเต็มระบบนัก จึงยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก ต่อเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ.
1. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ระบบ สั่งงานให้พัดลมระบายความร้อน ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะ ชุดระบายความร้อนของ CPU , การ์ดจอภาพ ( ถ้ามี ) ในชุด Power Supply เอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกดึงไปใช้ในการระบายความร้อน และ กำลังไฟที่เหลือไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น Mainboard เป็นต้น.


2. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน เนื่องจากระบบระบายความร้อนด้อยประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีระบบระบายความร้อนที่พอเพียง ระบบจะป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบ โดยการหยุดการทำงาน หรือ ตัดการจ่ายไฟเข้าระบบ


ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ระบบจะหยุดการทำงาน มักจะเกิดอาการ Hang หรือ เครื่องดับไปเฉยๆ โดยที่ หลอดไฟLED ที่แสดงสถานะไฟฟ้า หน้าเครื่อง ยังติดสว่างอยู่ หรือ ดับไป แต่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะ Standby บนMainboard 

ปัญหาหนึ่งที่พบ คือ การจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการทำงานของอุปกรณ์ ในกรณีที่มีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมเข้าไปมากกว่า 1 ตัว จะออกอาการสตาร์ทเครื่องไม่ได้ หรือเมื่อเปิดเครื่องแล้วถ้ามีการคลิกเข้าไปในโฟลเดอร์ใดโฟลเดอร์หนึ่ง จะมีความรู้สึกหน่วงช้าผิดปกติ บางครั้งอาจได้ยินเสียงดังแคร็กๆ ออกมาจากฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะตอนเปิดหรือปิดเครื่อง ปัญหานี้มาจาก การจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอควรหาเพาเวอร์ซัพพลายมาเปลี่ยน ใหม่ให้จ่ายกำลังวัตต์มากกว่าเดิม (ระวังโดนหลอกเอาของสเปกต่ำมาติดสติกเกอร์ให้มีวัตต์สูงๆ ควรซื้อที่มียี่ห้อมีกล่องบรรจุ ระบุค่าต่างๆ ชัดเจนและประกันคุณภาพ พวกห่อหุ่มพลาสติกขายระวังให้ดีนะ จะบอกให้...) ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว ซีดีรอม 2 ตัว อย่างน้อยต้องสัก 450 วัตต์กำลังเหมาะ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามอีกจุดหนึ่งคื ขั้วต่อสายระหว่างเพาเวอร์ซัพพลายกับฮาร์ดดิสก์หรือซีดีหลวม โดยเฉพาะขั้วต่อภายในที่เป็นทองเหลือง (ตามลูกศรสีเหลืองชี้) ด้านในขั้วพลาสติกถ้าหากสัมผัสกับแกนในฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมไม่แน่นจะทำให้ การทำงานของอุปกรณ์ทั้งสองผิดพลาดได้ เช่น มีเสียงดังแคร็กๆ คล้ายจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่พอ ซีดีไม่หมุนอ่านไม่ได้ ถ้าร้ายแรงก็จะฟ้องตั้งแต่ตอนบูตเครื่องว่าหาไดรว์ฮาร์ดดิสก์ไม่พบเลยที เดียว การตรวจสอบนอกจากจะขยับที่ขั้วต่อพลาสติกให้แน่นแล้ว ลองขยับที่สายไฟทั้งสี่ เส้น (เหลือง-ดำ-ดำ-แดง) ดูนะครับว่าสายขยับหลวมได้มากหรือไม่ (บริเวณลูกศรสีฟ้าชี้ทั้งสี่เส้น ปกติจะแน่นสนิท) ถ้าหลวมให้ถอดขั้วต่ออกมาใช้ไขควงปลายแหลมเล็กๆ กดให้ขั้วทองเหลืองบีบเล็กลง แล้วลองสวมเข้ากับอุปกรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น